1. ประวัติโรงเรียนดงมะไฟวิทยา โรงเรียนดงมะไฟวิทยา ตั้งอยู่บ้านเลขที่ 1175 หมู่ที่ 13 บ้านดงมะไฟสามัคคี ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร อยู่ในเขตเทศบาลตำบลดงมะไฟ มีพื้นที่ 35 ไร่ 2 งาน 7 ตารางวา มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ ทิศเหนือ การประปาเทศบาลตำบลดงมะไฟ (หนองนาโทน) ทิศใต้ ทางหลวงแผ่นดินสายสกล – อุดร หมายเลข 22 ทิศตะวันตก ที่ราษฎรหมู่ที่ 13 ทิศตะวันออก ที่ราษฎรหมู่ที่ 13 (ที่ทำการผู้ใหญ่บ้านดงมะไฟสามัคคี) ปีการศึกษา 2518 นายศิริ กุลสานต์ กำนันตำบลขมิ้น พร้อมด้วยพ่อค้า ประชาชน รวบรวมเงินซื้อที่ดินและสร้างอาคารชั่วคราวเป็นเงิน 73,390 บาท 25 มี.ค. 2519 กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศตั้งโรงเรียนดงมะไฟวิทยา 1 มิ.ย. กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้โรงเรียนดงมะไฟวิทยาเปิดสอน มีนักเรียน 108 คน ครู 2 คน นักการภารโรง 1 คน โดยนายวิโรจน์ ศรีพรหมทัต เป็นผู้บริหารโรงเรียน ปีการศึกษา 2531 กรมวิชาการคัดเลือกให้โรงเรียนดงมะไฟวิทยา เข้าร่วมโครงการร่วมพัฒนาหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น ปีการศึกษา 2529 – 2533 เข้าร่วมโครงการโรงเรียนเพื่อพัฒนาชนบท รุ่นที่ 14 (ม.พ.ช.2) ปีการศึกษา 2534 เข้าร่วมโครงการขยายโอกาสทางการศึกษา
ปีการศึกษา 2535 – 2540 ผู้บริหารโรงเรียนดงมะไฟวิทยา ได้รับการคัดเลือกเป็นเลขานุการ กลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสกลนคร กลุ่มที่ 1 ปีการศึกษา 2537 กรมสามัญศึกษาอนุมัติให้เปิดทำการสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ปีการศึกษา 2544 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา มีฐานะเป็นประธานกลุ่มโรงเรียนมัธยมศึกษา จังหวัดสกลนคร กลุ่มที่ 1 - ได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานศึกษาส่งเสริมวัฒนธรรมด้านการแต่งกายดีเด่น (ผ้าไทย) จากศูนย์วัฒนธรรมไทย ประจำปีการศึกษา 2544 - ได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานศึกษาดีเด่นในการส่งเสริมวัฒนธรรมไทย เขตการศึกษา 9 ประจำปี 2544 - ได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานจัดระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้มาตรฐานคุณภาพ ระดับดีเด่น เขตการศึกษา 9 ประจำปี 2544 ปีการศึกษา 2545 โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรส่งเสริมการคุมครองผู้บริโภคของกระทรวงพาณิชย์ ประจำปี 2545 ปีการศึกษา 2546 ผู้บริหารโรงเรียน (นายสุชาติ กันติศาฤทธิ) ได้รับการคัดเลือกให้เป็น นายกสมาคมผู้บริหารสถานศึกษา เขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2547 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา เป็นศูนย์อำนวยการเครือข่าย ขมิ้น–หนองลาด โดยมี นายสุชาติ กันติศาฤทธิ เป็นประธานศูนย์อำนวยการเครือข่าย มีโรงเรียนที่สังกัด จำนวน 14 โรง ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนดงมะไฟวิทยา ได้รับเกียรติบัตรเป็นสถานศึกษาขนาดกลาง ที่ดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ช่วงชั้นที่ 3 – 4 ประเภทยอดเยี่ยม ระดับเขตพื้นที่การศึกษา สำนักงานการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี 2548 ปีการศึกษา 2548 โรงเรียนเข้าร่วมโครงการการศึกษากรณีตัวอย่างโรงเรียนดี มีคุณภาพ ปีการศึกษา 2548 สำนักวิชาการและมาตรฐาน สพฐ. ปีการศึกษา 2550 โรงเรียนได้รับการประเมินจาก สพฐ. เป็นสถานศึกษาประเภท 1 ที่มีความพร้อมสูงมาก สามารถบริหารจัดการศึกษาด้วยตนเองตามภารกิจและการกระจายอำนาจ 4 ด้าน - โรงเรียนผ่านการประเมินจาก สมศ. รอบสอง ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน - ได้รับการรับรองมาตรฐาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ปีการศึกษา 2552 โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรรางวัลเหรียญทอง การประเมินโรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนได้รับการคัดเลือกเป็นโรงเรียนคุณภาพโรงเรียนดีประจำตำบล รุ่น 1 ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสกลนคร เขต 1 สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2553 โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรการรับรองมาตรฐาน โรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ ระดับทอง ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช) ปีการศึกษา 2555 โรงเรียนผ่านการประเมินเป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนดีศรีตำบล รุ่น 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 23 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2555 เข้าร่วมโครงการโรงเรียนสวนพฤกษศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2556 - โรงเรียนได้รับป้ายสนองพระราชดำริ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (23 ธันวาคม 2556) - โรงเรียนได้รับรองมาตรฐานการศึกษา รอบสาม (พ.ศ. 2554-2558) จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน) - โรงเรียนได้รับการรับรองโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพระดับเพชร จากกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข - โรงเรียนได้รับรางวัลดีเด่นระดับภาค การประกวดสถานศึกษาร่วมใจสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยในการใช้รถใช้ถนน ประจำปี 2556 ปีการศึกษา 2557 - โรงเรียนได้รับเกียรติบัตร พร้อมเงินรางวัล หนึ่งแสนบาท โรงเรียนดีเด่นด้านคุณธรรม จริยธรรม จากสพฐ. ร่วมกับธนาคารออมสินแห่งประเทศไทย - โรงเรียนได้รับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2557 ประเภทนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น ขนาดกลาง ได้แก่นางสาววิลาวัลย์ กุลวงค์ - โรงเรียนได้รับรางวัลชนะเลิศการพากย์การ์ตูนภาษาจีนระดับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันขงจื้อ - โรงเรียนได้รับรางวัลโรงเรียนส่งเสริมภาษาจีนดีเด่น ภาคตะวันออกเฉียเหนือ จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น ร่วมกับสถาบันขงจื้อ - โรงเรียนได้รับรางวัลองค์กรต้นแบบ (ประเภทสถานศึกษา) จังหวัดสกลนคร ประจำปี 2557 ปีการศึกษา 2558 - โรงเรียนได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ 1 งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี (23 มีนาคม 2559) - โรงเรียนได้รับรางวัลสถานศึกษาดีเด่น “รางวัลชมเชย” โครงการยุวชนประกันภัย ปัจจุบันมี นายเอกชัย บุตรแสนคม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนดงมะไฟวิทยา 2. ลักษณะทั่วไปของชุมชน ชุมชนของชาวบ้านดงมะไฟ ตำบลขมิ้น อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกของอำเภอเมืองสกลนคร ทิศเหนือมีอาณาเขตติดต่อกับบ้านสายปลาหลาย บ้านนาเรือง บ้านขมิ้น บ้านโคกเลาะ ทิศตะวันออกมีอาณาเขตติดต่อกับบ้านพาน บ้านโพนบก บ้านผักขย้า ทิศใต้ติดต่อกับบ้านนาหัวบ่อ อำเภอพรรณานิคม ทิศตะวันตกติดต่อกับบ้านหนองเม็ก ห่างจากตัวจังหวัดสกลนคร ประมาณ 20 กิโลเมตร การคมนาคมสะดวก มีรถประจำทางวิ่งผ่าน ถนนเป็นถนนสายเอเชีย สายสกลนคร – อุดรธานี ลักษณะชุมชนเป็นชุมชนชนบท ประชากรส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 2.1 ลักษณะทั่วไปทางภูมิศาสตร์ ลักษณะพื้นที่ส่วนมากเป็นที่ลุ่ม ในฤดูฝนจะมีน้ำท่วมแต่น้ำไม่ขัง บางหมู่บ้านตั้งบ้านเรือนอยู่ในที่ดอน การทำไร่นาได้ผลอย่างเต็มที่ 2.2 ขนบธรรมเนียมประเพณี ศาสนา ชุมชนชาวบ้านดงมะไฟ มีขนบธรรมเนียมเหมือนชาวอีสานทั่วไป มีหลายเผ่าพันธุ์ อาศัยอยู่รวมกัน เช่น เผ่าภูไท เผ่าย้อ และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีการจัดกิจกรรม ตามประเพณีฮิตสิบคลองสิบสี่เป็นประจำทุกปี 2.3 อาชีพ ชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพทำนาประมาณ 90 % นอกจากนั้นจะเป็นการค้าขาย ทำสวน และปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น ปลูกอ้อย แตงโม ข้าวโพด พริก และมะเขือเทศ เลี้ยงสัตว์จำพวกวัว เป็นบางส่วน รับจ้างทั่วไปบ้าง ถ้าหมดฤดูทำนาแล้วจะเดินทางไปทำงานในกรุงเทพมหานคร และหรือ เมืองใหญ่ ๆ รายได้โดยเฉลี่ย ประมาณ 6,300 บาทต่อคน 2.4 การปกครอง ชุมชนตำบลขมิ้นมีการปกครองโดยแบ่งออกเป็น 13 หมู่บ้าน แต่ละหมู่บ้านจะ ปกครองโดยมีผู้ใหญ่บ้านเป็นหัวหน้าหมู่บ้าน มีกำนันเป็นผู้นำชุมชน และตำบลขมิ้นได้ยกฐานะเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อปี พ.ศ. 2540 มีสมาชิก อ.บ.ต. หมู่บ้านละ 2 คน เป็นผู้นำในการพัฒนาหมู่บ้านร่วมกับผู้ใหญ่บ้านมีชุดสายตรวจของ สภ.ขมิ้น จำนวน 1 ชุด ประชาชนแต่ละหมู่บ้านมีความสามัคคีกลมเกลียวกันดี รักพวกพ้อง รู้จักทำงานเป็นหมู่คณะ 2.5 การศึกษา ชุมชนชาวบ้านดงมะไฟตั้งอยู่ไม่ไกลจากตัวเมือง ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ ส่งบุตรหลานไปเรียนต่อในตัวเมือง คือ โรงเรียนสกลราชวิทยานุกูลและโรงเรียนธาตุนารายณ์วิทยา มีโรงเรียนประถมศึกษาในเขตพื้นที่บริการและใกล้เคียง จำนวน 19 โรงเรียน และโรงเรียนขยายโอกาสระดับมัธยมศึกษา จำนวน 6 โรงเรียน ชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่ค่อยเห็นความสำคัญของการศึกษามากนัก แต่ต้องการให้บุตรหลานไปทำงานในกรุงเทพมหานคร หรือเมืองใหญ่ๆ เนื่องจากปัญหาความยากจน จึงทำให้ชุมชนนี้มีอัตราการเรียนต่อระดับอุดมศึกษาค่อนข้างน้อย
|